วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ราชาศัพท์ การใช้คำราชาศัพท์


การใช้ราชาศัพท์
ความหมาย ราชาศัพท์แปลตามศัพท์ว่า ศัพท์หรือถ้อยคำสำหรับพระราชา แต่สำหรับการนำมาใช้ในวิชาภาษาไทยนั้น หมายถึง ถ้อยคำที่ใช้เหมาะสมกับบุคคลทั่วไปซึ่งจัดว่าเป็นคำสุภาพในการสื่อสาร หรือหมายถึง การใช้ถ้อยคำให้ถูกต้องตามฐานะของบุคคล
การใช้ถ้อยคำถูกต้องตามฐานะของบุคคล มี ๕ ชั้น ดังนี้

๑. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินี
๒. พระบรมวงศานุวงศ์ (เจ้านาย)
๓. พระภิกษุสงฆ์
๔. ข้าราชการ
๕. สุภาพชนทั่วไป

ราชาศัพท์ที่ใช้ในปัจจุบัน มี ๒ ทาง คือ
๑. การรับคำมาจากภาษาอื่น
เพราะพระเจ้าแผ่นดินเราดั้งเดิมนิยมใช้ถ้อยคำธรรมดา เช่น หลักฐานจากศิลาจารึก ต่อมาเรารับแบบอย่างจากราชสำนักเขมรมาใช้ มีพราหมณ์ปุโรหิตาจารย์เข้ามาประกอบพิธี พร้อมกันนั้นก็เอาขนบธรรมเนียมประเพณีอินเดียมาใช้ จึงทำให้มีคำว่าราชาศัพท์เป็นคำบาลีสันสกฤตและเขมร

คำราชาศัพท์ที่มาจากภาษาบาลี                       คำราชาศัพท์ที่มาจากภาษาเขมร
พระอัยกา ปู่ - ย่า                                          พระแกล หน้าต่าง
พระยะกนะ ตับ                                             พระกัมโบล แก้ม
พระปับผาสะ ปอด                                        พระขนง คิ้ว
พระสุณิสา ลูกสะไภ้                                      พระกรรเจียก จอนหู
พระชามาดา ลูกเขย                                      พระเพลา ตัก
พระชนก พ่อ                                               พระขนอง หลัง
พระชนนี แม่                                               พระศก ผม

คำราชาศัพท์ที่มาจากภาษาอื่นนั้นมีบ้างไม่มากนัก เช่น พระสุหร่าย จากภาษาเปอร์เชียร์ พระเก้าอี้ จากภาษาจีนเป็นต้น

๒. การสร้างคำใหม่
การสร้างคำใหม่เป็นราชาศัพท์ ใช้วิธีประสมให้คำมีทั้งการนำคำไทยด้วยกันมาประสมกับคำไทยและประสมกับคำภาษาอื่น หรือนำภาษาอื่นมาประสมกับ หรือปรุงแต่งคำให้ดู เป็นพิเศษขึ้นมา ยกตัวอย่างดังนี้

ก. คำไทยประสมกับคำไทย
ห้องเครื่อง   ครัว
ทรงเครื่องใหญ่   ตัดผม
เครื่องต้น   ชุดเครื่องแต่งตัว
เรือต้น   เรือหลวง
รับสั่ง   พูด
ทรงม้า   ขี่ม้า
ม้าต้น   ม้าสาหรับกษัตริย์
ทรงช้าง   ประทับบนหลังช้าง
ตั้งเครื่อง   ตั้งของกิน
ม้าต้น   ม้าหลวง
เทียบเครื่อง   ชิมของกิน
ปั้นเหน่ง   เข็มขัด

ข. คำไทยประสมกับภาษาอื่น เช่น
ขันพระพักตร์   ผ้าเช็ดหน้า
เส้นพระเจ้า   เส้นผม
บั้นพระองค์   บั้นเอว
คุกพระชานุ   คุกเข้า
รองพระบาท   รองเท้า
รถพระที่นั่ง   รถยนต์
สนพระทัย   สนใจ
กระเป๋าทรงถือ   กระเป๋าถือ
พระฉาย   กระจก
ทองพระบาท   กำไลเท้า
พระกลด   ร่ม
ทองพระกร   กำไลมือ

ค. ประสมคำอื่นกับคำอื่นด้วยกัน
พระพักตร์ หน้า
พระโอสถประจุ ยาถ่าย
พระหทัย หัวใจ
เสด็จพระราชดำเนิน ไป

วิธีการใช้ราชาศัพท์ที่ควรสังเกต
๑. การใช้คำ "ทรง" มีหลัก ๒ ประการดังต่อไปนี้

ก. ใช้ทรงนำหน้ากริยาสามัญบางคำให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น
ทรงเจิม   ทรงออกกำลัง   ทรงวิ่ง
ทรงเล่น   ทรงใช้   ทรงพักผ่อน

ข. ใช้ทรงนำหน้าคำนามสามัญบางคำให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น
ทรงดนตรี   เล่นดนตรี
ทรงเครื่อง   แต่งตัว
ทรงช้าง ขี่ช้าง
ทรงรถ ขี่รถ
ทรงกอล์ฟ เล่นกอล์ฟ
ทรงศีล รับศีล

ค. ใช้ทรงนำหน้าคำนามราชาศัพท์ทำเป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น
ทรงพระอักษร เขียนอ่าน
ทรงพระดำเนิน เดิน
ทรงพระราชนิพนธ์ แต่งหนังสือ
ทรงพระราชดำริ คิด
ทรงบาเพ็ญพระราชกุศล ทำบุญ
ทรงพระภูษา นุ่งผ้า

คำกริยาที่เป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่ใช้ทรงนำหน้า เช่น
เสด็จ เสวย โปรด (ชอบ)

๒. การใช้คำ "พระบรม" "พระราชา" "พระ"
ก. คำ "พระบรม" ใช้เฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเท่านั้น เช่น
พระบรมวงศานุวงศ์   พระบรมเดชานุภาพ
พระบรมราชานุเคราะห์   พระปรมาภิไธยหรือพระบรมนามาภิไธย
พระบรมราโชวาท   พระบรมราชโองการ
พระบรมอัฐิ   พระบรมโกศ

ข. คำ "พระราช" ใช้ได้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ พระอุปราช เช่น
พระราชปฏิสันถาร คำทักทาย
พระราชประวัติ ประวัติ
พระราชหัตถเลขา จดหมาย
พระราชพิธี พิธี

ค. คำว่า "พระ" ใช้นำหน้าคำที่เรียกอวัยวะ เครื่องใช้ หรือใช้นำหน้าคำนามสามัญ ที่ ไม่มีราชาศัพท์ใช้ เช่น
พระหัตถ์ มือ
พระบาท เท้า
พระภูษา ผ้านุ่ง
พระกร แขน
พระเขนย หมอน
พระเก้าอี้ เก้าอี้
พระพักตร์ หน้า
พระฉาย กระจก
พระสำอาง เครื่องสำอาง

๓. การใช้คำราชาศัพท์ ในคำขึ้นต้นและคำลงท้าย
ก. "ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า"
ลงท้าย "ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ" ใช้ในโอกาสกราบบังคมทูลขึ้นก่อนเป็นครั้งแรก

ข. "พระพุทธเจ้าข้าขอรับใส่เกล้าใส่กระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า..."
ลงท้าย "ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม..." ใช้ในโอกาสที่มีพระราชดำรัสขึ้นก่อน

ค. "พระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นเกล้าล้นกระหม่อม" หรือ "พระเดชพระคุณเป็นล้มเกล้าล้นกระหม่อม
ลงท้ายว่า "ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม" ใช้ในโอกาสแสดงความขอบคุณที่ได้รับความช่วยเหลือ

ง. "เดชะบารมีปกเกล้าด้วยกระหม่อม" หรือ "เดชะพระบรมเดชานุภาพเป็นล้นเกล้าล้นกระหม่อม
ลงท้ายว่า "ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม" ใช้ในโอกาสแสดงความรอดพ้นอันตราย

จ. "พระราชอาญาไม่พ้นเกล้าพ้นกระหม่อม" หรือ"พระอาญาเป็นล้นเกล้าล้นกระหม่อม"
ลงท้ายว่า "ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม" ใช้ในโอกาสที่ทำผิดพลาด

ฉ. "ไม่ควรกราบบังคมทูลพระกรุณา" หรือ "ไม่ควรจะกราบบังคมทูลให้ทรงทราบ"
ลงท้ายว่า "ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม" ใช้ในโอกาสที่ต้องกล่าวถึงสิ่งไม่สุภาพ
ข้อสังเกตคำกราบบังคมทูลว่า "ฝ่าละอองธุลีพระบาท" หรือ "ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท" เพราะคำว่า "ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท" เป็นคำสรรพนาม มีความหมายว่า ท่าน เท่านั้น

๔. การใช้ราชาศัพท์ให้ถูกต้องตามสำนวนไทย
คำว่า "ถวายการต้อนรับ" "ถวายความจงรักภักดี" คำนี้ใช้ผิดกันมาก คำที่ถูกคือ "เฝ้ารับเสด็จ" หรือ "รับเสด็จ" "มีความจงรักภักดี" หรือ "จงรักภักดี"

๕. การใช้ราชาศัพท์ให้ถูกต้องตามเหตุผล
ก. "พระราชอาคันตุกะ" กับ "อาตันตุกะ" แปลว่าแขกที่มาเยือน ถ้าเป็นแขกของพระมหากษัตริย์ใช้ "ราช" นำหน้า ถ้าไม่ใช่แขกของพระมหากษัตริย์ไม่ต้องใช้"ราช" เช่น
"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชอาคันตุกะของสมเด็จ พระราชินีอลิซาเบธ
"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นอาคันตุกะของประธานาธิบดี"

ข. การถวายของแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ

ถ้าเป็นของเล็กใช้ "ทูลเกล้าฯถวาย" อ่านเต็มว่าทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย
ถ้าเป็นของใหญ่ใช้ "น้อมเกล้าฯถวาย" อ่านเต็มว่าน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย

ค. การกล่าวถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ แม้จะเป็นการกล่าวลับหลัง ก็ต้องใช้ให้ถูกต้อง ควรใช้ว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือพระเจ้าอยู่หัว" และ "สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชีนีนาถหรือ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ" ไม่ควรกล่าวถ้อยคำอย่างอื่น

การใช้ราชาศัพท์สำหรับสมเด็จพระศรีนครินทราราชชนนี
ราชาศัพท์ทั่วไปเหมือนสมเด็จพระราชินี
คำขึ้นต้น ขอพระราชทานกราบบังคมทูลฝ่าละอองธุลีพระบาท
คำลงท้าย ควรมิควรสุดแล้วแต่จะกรุณาโปรดเกล้าฯ
สรรพนามแทนผู้พูด ใช้ข้าพระพุทธเจ้า
สรรพนามแทนพระองค์ ใช้ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท

---------------------------------------------------------------------------------

---------------------------------------------------------------------------------

----------------------------------------------------------------------------------

4 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

สุดยอดจริงๆอย่างนี้ไม่ตั้งใจอ่านไม่ได้แล้ว สำหรับเวปดีๆแบบนี้

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณสำหรับเวบคุณลุงบุญเติมที่เอาความรู้ดีๆและเอาข่าวสารดีๆมาบอกกันนะคะ ขอบคุณด้วยใจค่ะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณจากใจค่ะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณค่ะ

แสดงความคิดเห็น