วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2554

จริยธรรมและจรรยาบรรณ ธกส.


ประกาศธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เรื่องประมวลจริยธรรมธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

ประมวลจริยธรรมนี้จัดทำขึ้นตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 279 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

1. เป็นเครื่องมือกำกับความประพฤติของผู้ปฏิบัติงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ที่สร้างความโปร่งใส มีมาตรฐานในการปฏิบัติงานที่ชัดเจนและเป็นสากล

2. ยึดถือเป็นหลักการและแนวทางปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ และเป็นเครื่องมือการตรวจสอบการทางานด้านต่างๆ ทั้งในระดับองค์กรและระดับบุคคล เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามหลักคุณธรรมจริยธรรมอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

3. ทำให้เกิดรูปแบบองค์กรอันเป็นที่ยอมรับ เพิ่มความน่าเชื่อถือเกิดความมั่นใจแก่ผู้รับบริการและประชาชนทั่วไป ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสีย

4. ให้เกิดพันธะผูกพันระหว่างองค์กรและบุคคลในทุกระดับ ให้ใช้อำนาจในขอบเขต สร้างระบบความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อผู้บังคับบัญชาหรือผู้ใต้บังคับบัญชา ต่อองค์กร ต่อประชาชน และต่อสังคม ตามลำดับ

5. ป้องกันการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ และความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งเสริมสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ รวมถึงเพื่อใช้เป็นค่านิยมร่วมสาหรับองค์กรและบุคคล พึงยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติควบคู่ไปกับระเบียบและกฎข้อบังคับอื่นๆอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ

ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จึงออกประกาศเรื่องประมวลจริยธรรมธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรไว้ ดังต่อไปนี้


หมวด 1
บททั่วไป
ข้อ 1 ประกาศนี้ เรียกว่า “ ประมวลจริยธรรมธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่ วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
ข้อ 3 ในประกาศนี้

“ประมวลจริยธรรม” หมายถึง ประมวลจริยธรรมธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
“ธนาคาร” หมายถึง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
“ผู้จัดการ”หมายถึง ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
“พนักงาน”หมายถึง พนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรตามข้อบังคับฉบับที่ 3
“ผู้ช่วยพนักงาน”หมายถึง ผู้ช่วยพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
“ลูกจ้าง”หมายถึง ผู้ที่ธนาคารจ้างไว้ปฏิบัติงานธนาคาร
“ผู้ปฏิบัติงาน” หมายถึง พนักงาน ผู้ช่วยพนักงาน และลูกจ้างของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หมวด 2
มาตรฐานจริยธรรม
ส่วนที่ 1
มาตรฐานจริยธรรมอันเป็นค่านิยมหลัก

ข้อ 1 ผู้ปฏิบัติงาน มีหน้าที่ดาเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ วิธีปฏิบัติของธนาคาร เพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวม เป็นกลางทางการเมือง อานวยความสะดวกและให้บริการแก่ประชาชนตามหลักธรรมาภิบาล โดยจะต้องยึดมั่นในมาตรฐานทางจริยธรรมอันเป็นค่านิยมหลัก 9 ประการ ดังนี้
1. การยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม
2. การมีจิตสานึกที่ดี มีความซื่อสัตย์ สุจริต และรับผิดชอบ
3. การยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตน และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน
4. การยืนหยัดทาในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นธรรม และถูกกฏหมาย
5. การให้บริการแก่ประชาชนด้วยความรวดเร็ว มีอัธยาศัย และไม่เลือกปฏิบัติ
6. การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างครบถ้วน ถูกต้อง และไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง
7. การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน รักษามาตรฐาน มีคุณภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้
8. การยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
9. การยึดมั่นในหลักจรรยาวิชาชีพขององค์กร

ส่วนที่ 2
มาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ปฏิบัติงาน
ข้อ 2 ผู้ปฏิบัติงานต้องยึดถือและปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตาม ข้อบังคับ ระเบียบ
วิธีปฏิบัติของธนาคาร เพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวม อานวยความสะดวกและให้บริการแก่ประชาชนตามหลักธรรมาภิบาล โดยจะต้องยึดมั่นในมาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ปฏิบัติงาน 6 ประการ ดังนี้

1. รักษาความลับของลูกค้าและของธนาคาร รวมถึงไม่นาความลับไปใช้เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือผู้อื่น ให้บริการที่ประทับใจและละเว้นการรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดซึ่งมีมูลค่าเกินปกติวิสัย

2. ตั้งตนไว้ชอบ ดารงตนตามฐานานุรูปและไม่ประพฤติตนให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ต่อตาแหน่งหน้าที่ มีทัศนคติที่ดีและพัฒนาตนเองให้มีคุณธรรม จริยธรรม เพิ่มพูนความรู้ ความสามารถและทักษะในการทางาน เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น

3. ร่วมมือช่วยเหลือกันในกิจการของธนาคาร รักษาความสามัคคีในบรรดา
ผู้อยู่ในวงงานของธนาคารและไม่กระทาการใด ๆ อันอาจเป็นเหตุก่อให้เกิดความแตกแยกสามัคคีหรือก่อให้เกิดความกระด้างกระเดื่องในบรรดาผู้อยู่ในวงงานของธนาคาร เคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน ละเว้นการกระทาใด ๆ อันเป็นเหตุให้ผู้อื่นเดือดร้อน ให้การสนับสนุนเพื่อนร่วมงานอย่างจริงใจ ไม่รายงานเท็จหรือเสนอความเห็นที่ไม่สุจริตต่อผู้บังคับบัญชา สุภาพเรียบร้อย เชื่อฟัง และไม่แสดงความกระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชา ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตามคาสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในกิจการของธนาคารโดยชอบในการปฏิบัติกิจการของธนาคาร ไม่กระทาการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปสั่งให้กระทาหรือได้รับอนุญาตเป็นพิเศษเป็นครั้งคราว

4. มีความภักดีต่อธนาคาร รักษาและเสริมสร้างภาพลักษณ์ของธนาคาร ดูแลและใช้ทรัพย์สินของธนาคารเยี่ยงวิญญูชนจะพึงสงวนรักษาทรัพย์สินของตน ปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบ คาสั่ง แบบแผน และวิธีปฏิบัติของธนาคาร และสนใจในระเบียบปฏิบัติงานของส่วนราชการ หรือสถาบันอื่นที่เกี่ยวข้องกับกิจการในหน้าที่ของตน อุทิศเวลาของตนให้แก่กิจการของธนาคาร ไม่ละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ ไม่เป็นตัวกระทาการในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทใด ๆ

5. ร่วมมือประสานงานด้วยดีกับส่วนราชการ หรือสถาบันอื่นที่เกี่ยวข้องกับกิจการของธนาคารและให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมช่วยเหลือชุมชน อุทิศตนเพื่อสังคม

6. ปฏิบัติหน้าที่เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของธนาคาร ไม่แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว ไม่อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยงานในตาแหน่งหน้าที่ของตนเอง ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม หาผลประโยชน์จากธนาคารเพื่อตนเองหรือผู้อื่นและไม่ยอมให้ประโยชน์ส่วนตัว หรือประโยชน์ของบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับตนเองขัดแย้งกับผลประโยชน์ของธนาคาร

หมวด 2
ระบบบังคับใช้ประมวลจริยธรรม
ข้อ 3 เมื่อมีกรณีที่ถูกร้องเรียนหรือปรากฏเหตุว่ามีการปฏิบัติฝ่าฝืนประมวลจริยธรรม ให้ผู้บังคับบัญชาดาเนินการตามควรแก่กรณีเพื่อให้มีการแก้ไขหรือดาเนินที่ถูกต้องหรือตักเตือนหรือการสั่งให้ผู้ฝ่าฝืนนั้นปรับปรุงตนเองหรือให้รับการพัฒนาแล้วแต่กรณี
ข้อ 4 ให้ผู้บังคับบัญชา ปลูกฝังจริยธรรมอย่างสม่าเสมอ
ข้อ 5 เมื่อมีปัญหาการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้ ให้ผู้บังคับบัญชาเสนอเพื่อขอคาวินิจฉัยจากผู้จัดการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย

ให้ไว้ ณ วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(ลงชื่อ) ลักษณ์ วจนานวัช
(นายลักษณ์ วจนานวัช)
ผู้จัดการ

ที่มา : เว็บไซต์ ธกส. 

----------------------------------------------------------------------------------

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น